ประวัติของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่างเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมไม้ร่วมมือจากประชาชน ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่ที่ 2 และชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียง โดยได้รับความอุปการะจาก ผู้ใหญ่ ดง บุญเลิศ นายสำรวย อำพัน และนายเทพ เทียมเทศ ได้ร่วมกับชาวบ้าน ร่วมสร้างเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง เป็นอาคารเรียนชั่วคราว โดยการใช้หลังคามุงสังกะสี เสาไม้เนื้อแข็งไม่ตีฝา ผนังกำแพงอาคารยังไม่มี โดยใช้งบประมาณเงิน ในการก่อสร้างอาคารชั่วคราวนี้เป็นเงินประมาณ 20,000 บาท แล้วใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง”
พื้นที่ที่ดินของโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง มีพื้นที่อยู่ประมาณ 24 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา ซึ่งได้รับอุปการะจากผู้ใหญ่ใจดี คือ นายประยงค์ จะเนีย เป็นเจ้าของที่ดินและได้ยกที่ดินของตน ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง และได้ให้โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง นี้เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันมีการบริหารจัดการอยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 แต่ในปัจจุบัน ทางโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง ได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล 2 อนุบาล 3 และ ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นั้นเอง
ที่ตั้งของ โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง
โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70180 ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี ประมาณ 75 กิโลเมตร
ขนาดของโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง
โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง เป็นโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีหมู่บ้านในเขตบริการ หมู่2, 10, 12
ปรัชญาของโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงล่าง
ปญญา โลกสมิ ปชโชโต : ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
วิสัยทัศน์ (VISION)
นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม นำสู่ทักษะชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้มาตรฐานเทียบเคียงมาตรฐานการศึกษาของชาติ
พันธกิจ (MISSION)
- พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา
- พัฒนานักเรียนให้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- พัฒนาบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพ
- พัฒนาหลักสูตรให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงมาตรฐานชาติ
เป้าประสงค์ (GOAL)
- นักเรียนได้รับการพัฒนาด้วยหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
- นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- นักเรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- บุคลากรได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาตนเองให้เป็นครูมืออาชีพ
- สถานศึกษามีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานเทียบเคียงมาตรฐานการศึกษาของชาติ
อัตลักษณ์ : ยิ้มใส ไหว้สวย
ยิ้มใส นักเรียนทุกคน มีรอยยิ้มสดใส แสดงถึงสุขภาพกายแข็งแรง และสุขภาพจิตดี มีอุปนิสัยร่าเริง มีความสุขในการมาโรงเรียน และมีความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดเวลา ไหว้สวย ครูเป็นแบบอย่างที่ดี นักเรียนทุกคนมีกิริยาการไหว้ที่อ่อนน้อม สวยงามตามมารยาทไทย
เอกลักษณ์
ดำเนินชีวิตด้วยความพอเพียง
สีประจำโรงเรียน คือ สีฟ้าและสีชมพู
สีฟ้า หมายถึง ความสดใส
สีชมพู หมายถึง ความรักและความอบอุ่น
นโยบายโรงเรียน
- พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้บรรลุจุดหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
- พัฒนาการเรียนการสอนและจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ เกิดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ตลอดจนส่งเสริมแนวทางวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย
- พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของครู และบุคลากร เพื่อการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน และประชากรในท้องถิ่น
- ลดอัตราการขาดเรียนของนักเรียน โดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน ในการจูงใจติดตามและควบคุมการเรียนการสอนของนักเรียนอย่างใกล้ชิด
- ปรับปรุงประสิทธิภาพการสอนของครู โดยสนับสนุนให้ครูผลิต จัดหาและใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- เน้นการจัดนิเทศภายในให้มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดรูปแบบ และขั้นตอนอย่างชัดเจน และดำเนินการนิเทศอย่างสม่ำเสมอ
- เร่งรัดปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนให้มีความถูกต้อง และปัจจุบันโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยี เช่น การเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
- เน้นการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ความสะอาดของอาคารสถานที่ บริเวณการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ร่มรื่น
- ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนและโรงเรียน
- ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยใช้สื่อ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทันสมัย เช่น ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์
- ส่งเสริมให้องค์กรท้องถิ่น กรรมการสถานศึกษา ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อความเจริญก้าวหน้าของโรงเรียนอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมสุขภาพและพลานามัย ให้มีสุขภาพและร่างกายแข็งแรง ส่งเสริมกิจกรรมการเล่นกีฬา กิจกรรมเข้าจังหวะ กิจกรรมกายบริหาร
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- ความสามารถในการสื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก้ปัญหา
- ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
- ซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย
- ใฝ่เรียนรู้
- อยู่อย่างพอเพียง
- มุ่งมั่นในการทำงาน
- รักความเป็นไทย
- มีจิตสาธารณะ
นานาสาระ
เรื่อง อนุสาวรีย์เทพีแห่งเสรีภาพ
ถ้าพูดถึงสหรัฐอเมริกา ต้องนึกถึงอนุสาวรีย์เทพีแห่งเสรีภาพ ที่ตั้งอยู่ในกรุงนิวยอร์ก หรือ ณ ที่ เกาะลิเบอร์ตี ของรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษเรียกว่า Statue of Liberty หรือ Liberty Enlightening the World เป็นอนุสาวรีย์ที่แสดงให้เห็นถึงการระลึกถึง หรือเป็นเสมือนของขวัญชิ้นใหญ่ และสำคัญมากที่ชาวฝรั่งเศสมอบให้ชาวอเมริกัน เพื่อเป็นที่ระลึกในการเฉลิมฉลองวันชาติของคนอเมริกันครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2419 มีการส่งมอบให้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429 และรับมอบโดยนายโกรเวอร์ คลิฟแลนด์ ซึ่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ในขณะนั้น
เทพีเสรีภาพ เป็นการสร้างด้วยการหล่อด้วยโลหะสำริด เป็นภาพจำลองของเทพีลิเบอาร์ตาส ซึ่งเป็นเทพีแห่งเสรีภาพของชาวโรมัน มีการห่มด้วยเสื้อคลุม ชูมือขวาไว้เหนือศีรษะพร้อมกับถือคบเพลิง มือซ้ายถือแผ่นจารึกคำประกาศอิสรภาพของคนอเมริกัน มีการสลักตัวอักษรไว้ว่า ‘JULY IV MDCCLXXVI’ หรือหมายถึง วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) ภาพเทพีที่เห็นจะมีลักษณะเท้าข้างหนึ่งผูกติดอยู่กับโซ่ที่ขาด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความที่ได้หลุดพ้นจากการเป็นทาส บนศีรษะของเทพีจะสวมมงกุฎ 7 แฉก ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของทะเลทั้ง 7 หรือหมายถึงทวีปทั้ง 7 ภายในตัวอนุสาวรีย์จะสร้างเป็นบันไดวนให้สามารถเดินเข้าไปชมภายในได้รวมทั้งหมด 162 ขั้น เป็นแนวการสร้างของ เอดูอาร์ด เดอ ลาบูลาเย ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ ฝรั่งเศส เพื่อให้เป็นการระลึกถึงสายสัมพันธ์ของคนอเมริกัน และคนฝรั่งเศสที่ทำหารรบในระหว่างการปฏิวัติอเมริกัน เป็นการออกแบบโดยนายเฟรเดรีค โอกุสต์ บาร์โทลดี โครงร่างภายในที่เป็นเหล็กออกแบบโดย นายเออโน วียอแล-เลิ-ดุก และ นายกุสตาฟ ไอเฟล ซึ่งก็เป็นผู้เดียวกับที่ออกแบบหดไอเฟล ที่อยู่ในกรุงปารีส ฝรั่งเศสนั้นเอง ส่วนตัวฐานของเทพี ฯ สร้างโดยคนอเมริกันเอง และจารุกโคลงซอนเนต์ของกวีชาวอเมริกัน เอมมา ลาซารัส มีเนื้อหาเป็นการต้อนรับผู้อพยพที่ทะยอยเข้ามาสู่อเมริกาอยู่ตลอดเวลาในขณะนั้น
สาเหตุที่ชาวฝรั่งเศสมอบเทพีเสรีภาพ
เนื่องจากคนฝรั่งเศสมีความชื่นชมในคนอเมริกันที่มีความกล้าหาญ และรวมตัวกันลุกขึ้นสู้กับสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) เพื่อประกาศอิสราภาพไม่ขึ้นต่ออังกฤษได้สำเร็จ และไม่เป็นประเทศเอกราชในที่สุด ชาวฝรั่งเศสจึงได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อช่วยกันสร้างและมอบให้คนอเมริกันเพื่อเป็นที่ระลึก และเป็นเกียรติไปพร้อมกัน
การขนส่งจากฝรั่งเศส
ในการขนส่งมายังอเมริกานั้น เนื่องจากความใหญ่โตของเทพี จึงต้องแยกส่วนออกแล้วมาประกอบขึ้นภายหลังเมื่อถึงอเมริกาแล้ว โดยมีชิ้นส่วนทั้งสิ้น 350 ชิ้น ซึ่งต้องทำการประกอบขึ้นใหม่โดยใช้เวลาในการประกอบถึง 4 เดือน ส่วนตัวฐานของเทพีนั้นสร้างเสร็จโดยชาวอเมริกันในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2429 ซึ่งถ้าจะเรียกว่าเสร็จโดยสมบูรณ์จริง ๆ ก็ได้แก่ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429 เนื่องจากเป็นการตอกหมุดยึดฐานตัวสุดท้ายที่สมบูรณ์จริง ๆ
ในปี พ.ศ. 2527 องค์การยูเนสโก ก็ประกาศให้อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ เป็นมรดกโลก ทุกวันนี้ได้มีนักท่องเที่ยวได้ไปเยี่ยมชมแล้วกว่า 3.2 ล้านคน (สถิติในปี พ.ศ. 2552) หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายนทางการสหรัฐ ฯ ได้สั่งปิดอนุสาวรีย์ และเกาะลิเบอร์ตีเป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันเหตุซ้ำสอง และได้เปิดอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมได้ แต่มีการจำกัดจำนวนผู้เช้าชมในแต่ละวัน
ประวัติของการก่อสร้าง
โครงการนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2408 หรือ ค.ศ. 1865 โดยชาวฝรั่งเศส ที่ต้องการมอบของขวัญให้แก่คนอเมริกัน เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความทรงจำที่ดี ในการระลึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนอเมริกัน และคนฝรั่งเศสในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยคณะกรรมการซึ่งมี นายเอดดูวาด เดิลาบูลาเยเป็นประธานการปั้นหุ่น โดยมีนักปติมากรรมหนุ่มชื่อนายเฟรเดอริก ออกุสเต บาร์ทอลติ เป็นผู้ปั้นขึ้นมา โดยการอนุมัติของคณะกรรมการฟรองโกอเมริกันเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งทางฝ่ายอเมริกันรับผิดชอบในส่วนที่เป็นฐานราก และได้มีการวางแผนจะขอรับบริจาคเงินค้าใช้จ่ายจากเอกชนประมาณ 25,000 เหรียญ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 5,000,000 บาทในขณะนั้น)
บาร์ทอบติ นักปั้นเริ่มงานของเขาเมื่อปี พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) โดยให้มารดาของเขาเป็นนางแบบ เริ่มทำรูปจำลองขึ้นมาก่อนด้วยปูนปลาสเตอร์ สูงประมาณ 9 ฟุต 1 รูป และสูง 36 ฟุตอีก 1 รูป เพื่อเป็นการกำหนดสัดส่วน และแล้วก็มีการกำหนดได้สำเร็จ ด้วยการสร้างด้วยโลหะผสมทองแดงและเหล็กกล้า เพื่อความแข็งแรงของตัวเทพี การวาสแผนเพื่อการดำเนินงานในครั้งนี้อยู่ในการอำนวยการของนาย กุสตาฟไอเฟล ซึ่งเขาเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศส และเป็นผู้ก่อสร้างหอไอเฟลในกรุงปารีส ของฝรั่งเศสมาแล้ว การสร้างอนุสาวร์ย์เสรีภาพครั้งนี้ต้องใช้ทองแดงมากกว่า 300 แผ่น ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันถึง 90 ตัน
ประวัติของการก่อสร้าง
ในขณะที่ทางฝ่ายอเมริกัน ก็ได้เริ่มสร้างฐานของเทพีไปพร้อมกัน โดยได้เลือกสถนที่เพื่อการประดิษฐานอนุสาวรีย์ขึ้นที่เกาะเบดโล ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งชื่อตามซึ่งเดิมของเจ้าของ คือ ไอแซค เบดโล โดยเริ่มสร้างฐานเมื่อ พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) เมื่อเริ่มงานก่อสร้าง แต่ต้องหยุดไประยะหนึ่ง เนื่องจากขาดเงินหมุนเวียน แต่ต่อมานายโจเซฟ ฟูลิตเซอร์ ผู้มีชื่อเสียงและเจ้าของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กเวิลด์ ได้รณรงค์หาทุนมาเพิ่มโดยการขอรับการสนับสนุนจากมหาชนในปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) จึงทำให้งานกลับมาดำเนินไปด้วยดี และฐานเทพีก็สำเร็จได้ในปีนั้นนั่นเอง
ส่วนของอนุสาวรีย์เทพีได้เดินทางมาถึงอเมริกาและนครนิวยอร์กเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1558) โดยการแยกออกเป็นชิ้นส่วนบรรจุอยู่ในหีบใบใหญ่ถึง 214 หีบ เมื่อมาถึงจึงได้นำออกมาประกอบและติดตั้งให้เป็นรูปร่างที่บนป้อมเก่า ที่อยู่ทางปลายสุดของเกาะลิเบอร์ตี ที่เดิมชื่อเกาะเบดโล รูปปั้นนี้มีน้ำหนัก 254 ตัน เป็นรูปปั้นสตรีสวมชุดคลุมทั้งร่างตั้งแต่ไหล่ลงมาจรดปลาเท้า ท่วงท่าสง่างาม ศีรษะสวมมงกุฎ มือขวาถือคบเพลิงชูอยู่เหนือศีรษะ มือซ้ายถือแผนคำประกาศอิสรภาพ ตั้งแต่เวลาเย็นถึงกลางคืนจะมีไฟลุกโชนที่คยเพลิงของเทพีด้วย ทำให้เห็นรูปเทพีเปล่งแสงสว่างไปทั่วทั้งเกาะ ใครที่ไปเยี่ยมชมและยืนอยู่ที่ฐานของเทพีจะมีความรู้สึกได้ถึงความยิ่งใหญ่โตของอนุสาวรีย์เสรีภาพแห่งนี้ได้อย่างชัดเจนทีเดียว