
ประวัติของกาแฟ ประวัติกาแฟ กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้นิยมดื่มกันมากทั่วโลก จึงเป็นที่มาของตำนานกาแฟที่หลากหลาย ทั้งจากคนเลี้ยงแพะที่บังเอิญแพะไปกินเมล็ดของผลไม้ชนิดหนึ่งแล้วเกิดความคึกคะนอง มีความร่าเริงสดใส จึงตามไปดูและทดลองกินดูจึงได้รู้ว่าเป็นเรื่องจริง มีความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอีกด้วย
จึงนำเมล็ดผลไม้นี้ไปอวดชาวบ้าน จึงได้มีการนำมาทดลองผ่านการคั่วและต้มก่อนนำมาชงดื่ม ซึ่งก็พบว่าเป็นจริงตามที่คนเลี้ยงแพะบอกเพราะเมื่อดื่มเข้าไปแล้วทำให้เกิดกระปรี้กระเปร่าได้อย่างน่าอัศจรรย์ และยังสามารถทำกิจธุระต่าง ๆ ประจำวันได้โดยไม่มีอาการง่วงนอนอีกด้วย ส่วนอีกตำนานได้กล่าวคล้ายกันว่ามีผู้พบเมล็ดพืชชนิดหนึ่งเมื่อนำไปต้มดื่มแล้วทำให้มีความสุข มีชีวิตชีวา และเมล็ดพืชชนิดนี้ยังช่วยเป็นยารักษาโรคหิด โรคผิวหนังได้อีกด้วย
ประวัติการนำกาแฟมาเป็นเครื่องดื่ม
กาแฟเป็นพืชที่ถูกค้นพบเมื่อประมาณ 850 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยชาวแอฟริกาได้นำเมล็ดกาแฟมาต้มเพื่อดื่ม หรือบริโภคเป็นเครื่องดื่ม และอาหารมานานแล้ว นักวิชาการเรื่องเครื่องดื่มได้ตั้งข้อสังเกตว่า แรกเริ่มมนุษย์อาจใช้การสังเกตจากสัตว์กินพืช และนกต่าง ๆ ว่ากินอะไร หรือมีพืชอะไรที่กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างไร
เนื่องจากเมื่อสัตว์ได้กินเมล็ดกาแฟแล้วทำให้เกิดอาการคึกคักร่าเริง มนุษย์จึงนำเมล็ดพืชนั้นมาลองเคี้ยวกินดูด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ต้มบ้าง คั่วบ้างก็มีอาการที่คล้ายกับที่สัตว์ที่แสดงออกมา ได้แก่ มีความสดชื่น ทำให้จิตใจคึกคักขึ้น ต่อมาได้มีการนำผลกาแฟมาทำเป็นไวน์ แล้วลองกินดูก็มีผลที่ไม่ต่างกันคือมีความรู้สึกสดชื่น ร่างกาย
มีความสุขและทำให้ไม่เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนได้เป็นอย่างดี ทำให้หายเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งวันอีกด้วย เนื่องจากกาแฟมีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นให้ร่างกายดีขึ้น ต่อมาได้นำเมล็ดกาแฟมาต้มผสมกับไขมันสัตว์ปั้นเป็นก้อมติดตัวไว้เพื่อกินในระหว่างทำงาน หรือเดินทางก็ใช้ได้ผลดี ชาวแอฟริกาใช้กาแฟเป็นเครื่องเส้นไหว้เทพเจ้า
ที่ตนให้ความเคารพนับถือ และมอบเป็นของขวัญให้ผู้มาเยือน ที่สุดกาแฟก็กลายเป็นเครื่องดื่มที่ต้องนำมาผสมกับน้ำร้อน และได้มีการปรับปรุงพัฒนาขึ้นเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของคนทั่วโลก โดยมีการผสมด้วยนม ครีมเทียม และน้ำตาล หรือน้ำผึ้งเพื่อให้มีรสชาติที่ดีขึ้น ทำให้มีการดื่มกันอย่างมากมาย และเป็นเครื่องดื่มประจำของใครบางคนที่ขาดไม่ได้ไปในที่สุด
ประวัติของการดื่มกาแฟในประเทศไทย
กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทั่วโลกยอมรับ เกษตรกรชาวไทยก็มีการปลูกกาแฟเป็นอาชีพมานานแล้ว โดยนำกาแฟสายพันธุ์อราบิก้า (Arabical) มาขยายพันทางภาคเหนือ และสายพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) มาขยายพันทางภาคใต้
มีการบันทึกไว้ว่ากาแฟนั้นได้เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทดลองนำกาแฟสายพันธุ์อราบิก้ามาปลูกที่ จ.จันทบุรี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2393 โดยเรียกว่ากาแฟจันทบูร ส่วนกาแฟสายพันธ์โรบัสต้าก็มีผู้นำไปปลูกทางภาคใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 ที่ จ.สงขลา ต่อมาได้มีการแพร่ขยายพันธุ์ไปทั่วประเทศ แต่ยังมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ทางภาคใต้
ได้แก่ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี โดยมีกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าเป็นหลัก สำหรับทางภาคเหนือซึ่งมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ ก็มีกาแฟสายพันอราบิก้าเป็นหลัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการนำเมล็ดกาแฟอราบิก้า 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ทิปิก้า (Typica), เบอร์บอน (Bourbon, แคททูรา (Caturial) และ มุนดู นูวู (Mundo Novo)
ซึ่งเป็นกาแฟพื้นเมืองของประเทศบราซิลมาปลูกที่จังหวัดทางภาคเหนือ เช่นที่ จ.ตาก และจ.เชียงใหม่ แต่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะได้เกิดเชื้อรา และได้ผลผลิต ที่ไม่คุ้มค่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 มีการสำรวจโรคพืชโดยเฉพาะกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า และสายพันธุ์อราบิก้าทางภาคใต้ ผลสรุปทำให้ทราบว่าเชื้อรานั้นเกิดกับกาแฟ
สายพันธุ์อราบิก้ารุนแรงกว่าสายพันธุ์โรบัสต้า ทำให้หมดความนิยมปลูกสายพันธุ์อราบิก้าทางภาคใต้ และหันมาปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้ากันเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2517 โครงการหลวงมีการพัฒนาชาวเขาให้ปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิก้าบนพื้นที่สูง เพื่อเป็นการทดแทนการปลูกฝิ่น และทางภาคใต้โดยความช่วยเหลือ
ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา และกรมวิชาการเกษตรให้เกษตรกรทางภาคใต้ปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า โดยให้นำสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคได้ดีมาปลูกแทนสายพันธุ์เดิมที่มีผลผลิตที่ต่ำ ทำให้เกิดเป็นกาแฟสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น และมีลำต้นที่ต่ำเพื่อการเก็บผลผลิตได้ง่าย ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการ
ปลูกกาแฟเพิ่มขึ้น ต่อมาประมาณอีก 10 ปี ทางกรมวิชาการเกษตรได้รับพันธุ์กาแฟอราบิก้าจากโปรตุเกส และได้นำไปทดลองปลูกที่ดอยตุง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นสายพันธุ์กาแฟลูกผสม และสามารถปลุกได้ผลดีบนที่สูงจึงได้แพร่กระจายให้เกษตรกรชาวเขานำไปขยายพันธุ์กันเพิ่มขึ้น ทั้งที่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย และพื้นที่สูงของ
ทางภาคเหนืออีกหลายแห่งปรากฏว่าล้วนได้ผลดีเกินคาด ทั้งผลผลิต และลำต้นที่เตี้ยเหมาะกับการเก็บผลผลิตได้ง่ายกว่า ทำให้โครงการที่พัฒนาขึ้นมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น จึงได้พัฒนาต่อไปยังพื้นที่สูงในจังหวัดอื่น ๆ ทำให้กาแฟสายพันธุ์อราบิก้าเป็นสายพันธุ์กาแฟสายพันธุ์เดี่ยวที่ปลูกได้ผลดีทางภาคเหนือ
ส่วนสายพันธุ์โรบัสต้าทางกรมวิชาการเกษตรก็ไม่ได้หยุดการพัฒนาแต่ให้เป็นการปลูกทางภาคใต้ เนื่องจากภูมิอากาศเหมาะสมกว่า ซึ่งก็ได้ผลดีเช่นกัน ทำให้เกษตรกรทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้หันมาปลูกกาแฟตามสายพันธุ์ที่เพมาะสมต่อไป
จึงสรุปได้ว่าการปลูกกาแฟของไทยเรานั้น กาแฟสายพันธุ์อราบิก้าเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรทางภาคเหนือ หรือสามารถปลูกบนที่สูงได้ดี สำหร้บกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้านั้นเป็นกาแฟสายพันธุ์ที่เหมาะกับภูมิภาคพื้นที่ราบทางภาคใต้มากกว่าจึงมีการแน่ะนำให้เกษตรทางภาคใต้ปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้ากันมาก
ซึ่งก็เป็นที่นิยมของเกษตรกรภาคใต้เพื่อปลูกทดแทนทั้งยางพารา และพืชสวนอย่างอื่น ทำให้เกษตรกรภาคใต้มีรายได้สูงขึ้นแทนที่จะมีรายได้จากน้ำยางเพียงอย่างเดียว สำหรับชาวเขาทางภาคเหนือก็นิยมปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิก้าแทนการปลูกฝิ่นที่นิยมกันมานาน หันมาปลูกกาแฟกันเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และยังถูกกฎหมายของบ้านเมืองอีกด้วย ไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ อีกต่อไป